วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความหมายและความเป็นมาของโปรแกรม Microsoft Excel 2007


ความหมายและความเป็นมาของโปรแกรม Microsoft Excel

 ความหมายและความเป็นมาของโปรแกรม Microsoft Excelโปรแกรม Microsoft Excel 97/2000/XP/2003/2007 เป็นโปรแกรมประเภทสเปรตชีต (Spreadsheet) ที่ออกแบบมาสำหรับบันทึก วิเคราะห์แนวโน้มของยอดขายจากข้อมูลที่ป้อนเข้าไปในตาราง และนำแสดงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลข ตลอดจนพัฒนาให้เป็นระบบงานที่มีขีดความสามารถสูง มีการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาระบบข้อมูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนความสามารถเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการได้เป็นอย่างดี หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับธุรกิจอื่นๆ ได้โดยใช้เวลาเพียงนิดเดียวเท่านั้น เมื่อเทียบกับเวลาที่คุณใช้เครื่องมือแค่ปากกากับกระดาษ
วัตถุประสงค์ของ โปรแกรม Microsoft Excel 97/2000/XP/2003/20071.            เพื่อให้ได้ทราบถึงคุณสมบัติของโปรแกรม Microsoft Excel และสามารถทำสเปรตชีตได้ 2.            เพื่อสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsoft Excel มาใช้จัดเก็บข้อมูล และสามารถใช้โปรแกรมในการคำนวณนี้ได้ 3.            สามารถนำเสนอข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.            เพื่อใช้งานต่างๆในโปรแกรมMicrosoft Excel ได้ดีกว่าเวอร์ชันเดิม 5.            Microsoft Excel ออกแบบมาเพื่อช่วยให้สามารถเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองให้ใช้โปรแกรมนี้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย 6.            เพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของมนุษย์ในการคิด คำนวณที่มีรูปแบบซ้ำๆ 7.            การใช้เวลาให้คุ้มค่าในเรื่องของการคำนวณโดยมีสูตรที่ทำให้เราสามารถเข้าใจ และนำไปใช้ได้ 8.            เพื่อนำฟังก์ชัน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการคำนวณ Excel มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน 9.            เพื่อหาจำนวนค่าเฉลี่ยต่างๆ มาทำเป็นสถิติ 10.        สามารถหาข้อสรุปจากผลลัพธ์ที่ได้จากตาราง Excel 11.        สามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณมาบันทึกไว้ในโปรแกรม Excel เพื่อหาผลลัพธ์ได้ 12.        จุดเด่นของ โปรแกรม Microsoft Excel 97/2000/XP/2003/20071.            จะมีแอพพลิเคชันครอบคลุมพื้นฐานต่างๆเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย การเริ่มต้นและการออกจากเอ็กเซล การใช้เมนู แถบเครื่องมือ และไดอะล็อกบ๊อกซ์ การคีย์ข้อความและตัวเลข2.            การสร้างสูตรแบบง่ายๆ การแก้ไขแผ่นงานและสมุดงาน การพิมพ์และการบันทึกสมุดงาน 3.            ปรับปรุงแผ่นงานของคุณให้น่าสนใจขึ้น การกำหนดรูปแบบต่างๆบนแผ่นงาน การเพิ่มและการแก้ไขรูปภาพ การวาดรูปทรงต่างๆ การแทรกคำอธิบาย การสร้างแผนภูมิหรือกราฟ และการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนที่ มีเทคนิคมากขึ้นสักหน่อย แต่ก็เป็นประโยชน์มาก เช่นการวิเคราะห์ข้อมูลในแผ่นงาน ช่วยให้คุณปรับแต่งการใช้งานของเอ็กเซลได้ละเอียดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้4.            มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการเลือกสภาพแวดล้อมการทำงานเอง เปลี่ยนมุมมองในแผ่นงานร่วมกับเทมเพลต 5.            ช่วยงานของคูณทำได้ดียิ่งขึ้น เช่น การเชื่อมโยง การประมวลผลเพื่อรวมข้อมูล   การใช้โปรแกรม Microsoft Excel เพื่อการคำนวณทางคณิตศาสตร์ 1
ตอนที่ 1 การบวก ลบ คุณ และหาร เลข แทนการใช้เครื่องคิดเลข
1.1 การบวก
การใช้โปรแกรม อ่านในหนังสือที่ขายอยู่ตามท้องตลาดก็ได้นะคะ ทางนี้จะเริ่มเลย เรียนเลย
เปิดโปรแกรมใช้งานออกมา
ทำให้แผ่นงานถูกเลือกโดยการไปคลิกที่มุมซ้ายของตารางคำนวณ


ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม

ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม

คำว่า”คุณธรรมจริยธรรม” นี้ เป็นคำที่คนส่วนใหญ่จะกล่าวควบคู่กันเสมอ จนทำให้เข้าใจผิดได้ว่า คำทั้งสองคำมีความหมายอย่างเดียวกันหรือมีความหมายเหมือนกัน แท้ที่จริงแล้วคำว่า “คุณธรรม” กับคำว่า”จริยธรรม” เป็นคำแยกออกได้ 2 คำ และมีความหมายแตกต่างกันคำว่า “ คุณ” แปลว่า ความดี เป็นคำที่มีความหมายเป็นทางนามธรรม ส่วนคำว่า “จริย” แปลว่า ความประพฤติกริยาที่ควรประพฤติเป็นคำที่มีความหมายทางรูปธรรม ดังนั้น จึงควรที่ผู้บริหารจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำสองคำนี้ให้ถ่องแท้ก่อน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2538 : 189) ให้ความหมายว่า” คุณธรรม หมายถึงสภาพคุณงามความดี”

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ยุตโต ) (2540: 14) ได้กล่าวว่าคุณธรรมเป็น ภาพของจิตใจกล่าวคือคุณสมบัติที่เสริมสร้างจิตใจให้ดีงาม ให้เป็นจิตใจที่สูง ประณีตและประเสริฐ เช่น

เมตตา คือ ความรักปรารถนาดี เป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นมีความสุข
กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือผู้อื่นมีความสุข
มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสำเร็จให้มีความสุขหรือก้าวหน้าในการทำสิ่งที่ดีงาม
อุเบกขา คือ การวางตัววางใจเป็นกลาง เพื่อรักษาธรรมเมื่อผู้อื่นควรจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขาตามเหตุและผล
จาคะ คือ ความมีน้ำใจเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว

วศิน อินทสระ (2541: 106,113) กล่าวตามหลักจริยศาสตร์ว่า คุณธรรม คือ อุปนิสัยอันดีงามซึ่งสั่งสมอยู่ในดวงจิต อุปนิสัยอันนี้ได้มาจากความพยายามและความประพฤติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน... คุณธรรมสัมพันธ์กับหน้าที่อย่างมาก เพราะการทำหน้าที่จนเป็นนิสัย จะกลายเปํนอุปนิสัยอันดีงามที่สั่งสมในดวงจิตเป็นบารมี มีลักษณะอย่างเดียวกันนี้ ถ้าเป็นฝ่ายชั่ว เรียกว่า “อาสวะ” คือ กิเลสที่หมักหมมในดวงจิต ย้อมจิตให้เศร้าหมองเกรอะกรังด้วยความชั่วนานาประการกลายเป็นสันดานชั่ว ทำให้แก้ไขยากสอนยาก กล่าวโดยสรุป คุณธรรมคือความล้ำเลิศแห่งอุปนิสัยซึ่งเป็นผลของการการะทำหน้าที่จนกลายเป็นนิสัยนั่นเอง

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2538: 15-16) กล่าวว่า คุณธรรมคือคุณสมบัติที่ดีของจิตใจ ถ้าปลูกฝังเรื่องคุณธรรมได้จะเป็นพื้นฐานจรรยาบรรณ... จรรยาบรรณนี้เป็นเรื่องพฤติกรรมในการที่จะพัฒนาต้องตีความออกไปว่า พฤติกรรมเหล่านี้มีพื้นฐานจากคุณธรรมข้อใด เช่น เบญจศีลเป็นจริยธรรม เบญจธรรมเป็นคุณธรรมคือ ความเมตตากรุณา ถ้ามีความเมตตากรุณาจะมีฐานของศีลข้อที่ 1 เป็นต้น ส่วนจริยธรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (2538 : 216 ) ให้ความหมายว่า “จริยธรรมหมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม”

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2535: 81-82) กล่าวว่าจริยธรรม คือ หลักแห่งความประพฤติ หรือแนวทางการปฏิบัติ หมายถึง แนวทางของการปฏิบัติ หมายถึง แนวทางของการประพฤติปฏิบัติจนให้เป็นคนดีเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม

นอกจากนี้พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2538: 2) ยังให้แนวคิดว่าจริยธรรมคือหลักแห่งความประพฤติดีงามสำหรับทุกคนในสังคม ถ้าเป็นข้อปฏิบัติทั่วไป เรียกว่าจริยธรรม ถ้าเป็นข้อควรประพฤติที่มีสาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ศีลธรรม แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยาธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นยังหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี แม้นักปราชญ์คนสำคัญ เช่น อริสโตเติล คานท์ มหาตมะคานธี ก็มีส่วนสร้างจริยธรรมสำหรับเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตของคนจำนวนหนึ่ง

จากทัศนะของพระเมธีธรรมภรณ์ดังกล่าวข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่าจริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม ศีลธรรมเป็นหลักคำสอนที่ว่าด้วยความประพฤติชอบ ส่วนจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบอันวางรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี ท่านผู้นี้มองจริยธรรมในฐานะที่เป็นระบบ อันมีศีลธรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่ก็มีแนวคิดปรัชญา ค่านิยม ตลอดจนธรรมเนียมประเพณีเข้ามาเกียวข้องด้วยจากที่กล่าวมาทั้งหมดพอสรุปได้ว่า คำว่า คุณธรรม จริยธรรม สองคำนี้เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันในด้านคุณงามความดี กล่าวคือ จริยธรรมคือความประพฤติที่ถูกต้องดีงามทั้งกายและวาจา สมควรที่บุคคลจะประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ตนเองและคนในสังคมรอบข้างมีความสุข สงบ เยือกเย็น จริยธรรมเป็นเรื่องของการฝึกนิสัยที่ดี โดยกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย ผู้มีความประพฤติดีงามอย่างแท้จริงจะต้องเป็นผู้มีความรู้สึกในด้านดีอยู่ตลอดเวลา คือ มี “คุณธรรม “ อยู๋ในจิตใจหรืออาจกล่าวได้ว่าจริยธรรมเป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติเป็นพฤติกรรมภายนอก ส่วนคุณธรรมเป็นสภาพคุณงามความดีภายในจิตใจ ซึ่งทั้งสองส่วนต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและวาจานั้น ย่อมเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์และเป็นไปตามความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจและสติปัญญา การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคคลจึงต้องพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ควบคู่กันไป คือ การพัฒนาด้านสติปัญญา ด้านจิตใจและด้านพฤติกรรม

ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม 
คุณธรรมจริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของคนทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือวิชาชีพใดไม่มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตนและแห่งวิชาชีพนั้นๆ ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือการขาดคุณธรรมจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้ายต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตได้อีกด้วย ดังจะพบเห็นได้จากการเกิดวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพหลายแขนงในปัจจุบัน ทั้งวงการวิชาชีพครู แพทย์ ตำรวจ ทหาร นักการเมืองการปกครอง ฯลฯ จึงมีคำกล่าวว่าเราไม่สามารถสร้างครูดีบนพื้นฐานของคนไม่ดี และไม่สามารถสร้างแพทย์ ตำรวจ ทหารและนักการเมืองที่ดี ถ้าบุคคลเหล่านั้นมีพื้นฐานทางนิสัยและความประพฤติที่ไม่ดี ดังพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระมหากษัตริ-ยาธิราช ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ. ศ.2525 ไว้ ดังนี้

“.....การจะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้น เสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้ว เป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำทางให้ยวดยานดำเนินไปถูกทางด้วยความสวัสดี คือ ปลอดภัย บรรลุจุดประสงค์..”

จริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคม ที่จะนำความสุขสงบและความและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้นๆ เพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาด และสว่างในจิตใจ จะทำการงานใดก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไมก่อให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น เป็นบุคคลมีคุณค่ามีประโยชน์ และสร้างสรรค์คุณงามความดี อันเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองต่อไป

วศิน อินทสระ (2541 : 6-9) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของจริยธรรมดังจะกล่าวโดยย่อดังนี้

1. จริยธรรมเป็นรากฐานอันสำคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคงและความสงบสุขของปัจเจกชน สังคมและประเทศชาติอย่างยิ่ง รัฐควรส่งเสริมประชาชนให้มีจริยธรรมเป็นอันดับแรก เพื่อให้เป็นแกนกลางของการพัฒนาด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา การเมืองการปกครอง ฯลฯ การพัฒนาที่ขาดจริยธรรมเป็นหลักยึดย่อมเกิดผลร้ายมากกว่าดี เพราะผู้มีความรู้แต่ขาดคุณธรรม ย่อมก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้มากกว่าผู้ด้อยความรู้ โดยท่านกล่าวว่า “ ผู้มีความรู้แต่ไม่รู้วิธีที่จะประพฤติตน ย่อมก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้มากกว่าผู้มีความรู้น้อย ถ้าเปรียบความรู้เหมือนดิน จริยธรรมย่อมเป็นเหมือนน้ำ ดินที่ไม่มีน้ำยึดเหนี่ยวเกาะกุมย่อมเป็นฝุ่นละอองให้ความรำคาญมากกว่าให้ประโยชน์ คนที่มีความรู้แต่ไม่มีจริยธรรมจึงมักเป็นคนที่ก่อความรำคาญหรือเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นอยู่เนืองๆ”

2. การพัฒนาบ้านเมือง ต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรืออย่างน้อยก็ให้พร้อมๆไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่นๆ เพราะการพัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนำนั้นจะสูญเปล่าและเกิดผลเสียเป็นอันมากทำให้บุคคลลุ่มหลงในวัตถุและอบายมุข การที่เศรษฐกิจต้องเสื่อมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคมละเลยจริยธรรม กอบโกยทรัพย์สินเป็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไปขาดความเมตตาปราณี แล้งน้ำใจในการดำเนินชีวิตซึ่งกันและกัน

3. จริยธรรม มิได้หมายถึง การถือศีล กินเพล เข้าวัดฟังธรรม จำศีลภาวนา โดยไม่ช่วยเหลือทำประโยชน์ให้แก่สังคม แต่จริยธรรมหมายถึงความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องเหมาะสมการทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เว้นสิ่งควรเว้น ทำสิ่งควรทำ ด้วยความฉลาดรอบคอบ รู้เหตุรู้ผลถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล ดังนั้นจะเห็นว่าจริยธรรมจึงจำเป็นและมีคุณค่าสำหรับทุกคนในทุกวิชาชีพทุกสังคม สังคมจะอยู่รอดด้วยจริยธรรม

4.การทุจริต คดโกง การเบียดเบียนกันในรูปแบบต่างๆอันเป็นเหตุให้สังคมเสื่อมโทรม มีสาเหตุมาจากการขาดจริยธรรมของคนในสังคม ทรัพยากรธรรมชาติในโลกนี้น่าจะพอเลี้ยงชาวโลกไปได้อีกนาน ถ้าชาวโลกช่วยกันละทิ้งความละโมบโลภมาก แล้วมามีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม ยึดเอาจริยธรรมเป็นทางดำเนินชีวิต ไม่ใช่ยึดเอาลาภยศความมีหน้ามีตาในสังคมเป็นจุดหมาย ถ้าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นก็ถือเป็นเพียงผลพลอยได้และนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประพฤติธรรม เช่น อาศัยลาภผลเป็นเครื่องมือในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อาศัยยศและความมีหน้ามีเกียรติในสังคมเป็นเครื่องมือในการจูงใจคนผู้เคารพนับถือเข้าหาธรรม

5. จริยธรรมสอนให้เราเลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน ให้เอาใจใส่ดูแลเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นบุพการีของชาติ สอนให้เราถ่อมตัวเพื่อเข้าหากันได้ดีกับคนทั้งหลาย และไม่วางโตโอหังอวดดีหรือก้าวร้าวผู้อื่น สอนให้เราลดทิฏฐิมานะลงให้มากๆเพื่อจะได้มองเห็นสิ่งต่างๆตามความจริง ไม่หลงสำคัญตัวว่ารู้ดีกว่า มีความสามารถกว่าใคร ผู้นำที่มีจริยธรรมสูงย่อมเป็นที่เคารพกราบไหว้ของทั้งหลายได้อย่างสนิทใจ เราควรเลือกผู้นำที่สามารถนำความสงบสุขทางใจมาสู่มวลชนได้ด้วย เพื่อสันติสุขจะเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก ความแข็งแกร่งทางกำลังกายกำลังทรัพย์และอาวุธนั้น ถ้าปราศจากความแข็งแกร่งทางจริยธรรมเสียแล้ว บุคคลหรือประเทศชาติจะมั่นคงอยู่ได้ไม่นาน สังคมที่เจริญมั่นคงต้องมีจริยธรรมเป็นเครื่องรับรอบหรือเป็นแกนกลาง เหมือนถนนที่มั่นคงหรือตึกที่แข็งแรง เขาใช้คอนกรีตเสริมเหล็กแม้เหล็กจะไม่ปรากฏออกมาให้เห็นภายนอก แต่มีความสำคัญอยู่ภายในนายช่างย่อมรู้ดี ทำนองเดียวกันกับบัณฑิตย่อมมองเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่าจริยธรรมมีความสำคัญในสังคมเพียงใด

จากข้อความที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ พอสรุปได้ว่าคุณธรรมจริยธรรมเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคน ปัญหาของสังคมไทยที่ประสบพบเห็นอยู่ทุกวันนี้เกิดจาก “คน” ปัญหาเริ่มต้นที่ “คน” และมีผลกระทบถึง “คน “ การแก้ปัญหาสังคมไทยจึงต้องแก้ด้วย “การพัฒนาคน” เพื่อให้คนมีปัญญา มีความรู้มีคุณธรรมและมีทักษะในการแก้ปัญหาชีวิต ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราจะพัฒนาคนอย่างไรเพื่อให้คนมีชีวิตที่ดีงามสามารถใช้ความรู้และแก้ปัญหาได้ สร้างสรรค์ได้ ปฏิบัติต่อเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง อยู่ในระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ บริโภคผลผลิตด้วยปัญญา รู้อะไรดี อะไรชั่ว มีทัศนคติทางจริยธรรมที่เหมาะสม ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติของคนที่มีคุณธรรม การจัดการศึกษาคงต้องยึดหลักสำคัญคือ “ให้ความรู้คู่คุณธรรม “ สังคมไทยจึงจะมีสมาชิกของสังคมที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดี ดังคำกลอนของอำไพ สุจริตกุล (2534 : 186) กล่าวไว้ดังนี้

เมื่อความรู้ยอดเยี่ยมสูงเทียมเมฆ
แต่คุณธรรมต่ำเฉกยอดหญ้านั่น
อาจเสกสร้างมิจฉาสารพัน
ด้วยจิตอันไร้อายในโลกา
แม้คุณธรรมเยี่ยมถึงเทียมเมฆ
แต่ความรู้ต่ำเฉกเพียงยอดหญ้า
ย่อมเป็นเหยื่อทรชนจนระอา
ด้วยปัญญาอ่อนด้อยน่าน้อยใจ
หากความรู้สูงล้ำคุณธรรมเลิศ
แสนประเสริฐกอปริกิจวินิจฉัย
จะพัฒนาประชาราษฎร์ทั้งชาติไทย
ต้องฝึกให้ความรู้คู่คุณธรรม
อำไพ สุจริตกุล (2534: 186)
คุณธรรมพื้นฐานของผู้นำ 
“....ในฐานที่เป็นครูอาจารย์ หัวหน้างาน
จำเป็นต้องมีความสุจริต ยุติธรรม
ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง เป็นที่พึ่ง
ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
ไม่ยอมแพ้พ่ายต่อความโลภ
ความลืมตัว ความริษยา ความแตกร้าว
ต้องมุ่งมั่นในประโยชน์อันรุ่งเรืองไพศาล
ของส่วนรวมเป็นเป้าหมาย
จึงจะได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จ
และมีชื่อเสียงเกียรติคุณทุกประการ
ดังที่ปรารถนา.........”

พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

คุณธรรมพื้นฐานของผู้นำ 
“... ในฐานะที่เป็นครูอาจารย์ หัวหน้างาน
จำเป็นต้องมีความสุจริต ยุติธรรม
ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง เป็นที่พึ่ง
ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อความโลภ
ความลืมตัว ความริษยา ความแตกร้าว
ต้องมุ่งมั่นในประโยชน์อันรุ่งเรืองไพศาล
ของส่วนรวมเป็นเป้าหมาย
จึงจะได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จ
และมีชื่อเสียงเกียรติคุณทุกประการ
ดังที่ปรารถนา……”

พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

ความหมายเทคโนโลยี




ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ


            Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
            1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประ
โยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ




อินเตอร์เน็ต


ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า International network หรือ Inter Connection  network หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมโยงด้วย TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เดียวกันเป็นข้อกำหนด เพื่อให้เกิดการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน วิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายด้วยโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
การที่มีระบบอินเทอร์เน็ตทำให้เราสามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้โดยไม่จำกัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และเสียง มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ อินเทอร์เน็ตอาจเปรียบเสมือนใยแมงมุมขนาดมหึมาที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้นจะนำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมาสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่อหนึ่ง โดยในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นสามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางโดยไม่มีเส้นทางที่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่นๆ หรือเลือกไปเส้นทางอื่นได้หลายเส้นทาง การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น อาจเรียกว่าเป้นการติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace นั่นเองค่ะ

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ : นายภัทรพล  คล้ายประทุม
ชื่อเล่น : ปอ
ศึกษาอยุ่ที่ : โรงเรียนตากพิทยามคม
ชั้น : ม.6/10 เลขที่ 7
บ้านเลขที่
: 204/1
ตำบล : วังหิน
อำเภอ : เมือง

จังหวัด : ตาก 63000

แหล่งท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ และตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่กุ ตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ 534,375 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล  1,765 เมตร สภาพทั่วไปส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าเขาสน ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ พฤศจิกายนพ.ศ2537สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ

น้ำตกพาเจริญ
เป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำห้วยน้ำไหลมารวมกับแหล่งน้ำซับแล้วไหลลงสู่ชั้นน้ำตกที่นับรวมได้ถึง 97 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปีแต่จะสวยงามในช่วงปลายฤดูฝน การเดินทาง  ใช้ทางหลวงหมายเลข 1090 สายแม่สอด-อุ้มผาง มีทางแยกซ้ายกิโลเมตรที่ 37 เข้าไปอีกประมาณ 700 เมตร
     บ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก  เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ อุณหภูมิของน้ำวัดได้ 60 องศาเซลเซียส ปัจจุบันอำเภอพบพระได้จัดศาลาพักผ่อนใกล้บ่อน้ำร้อน ด้านที่ติดกับถนนรพช. สามารถเที่ยวชมได้ตลอดปี การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1206 สายพบพระ-บ้านช่องแคบ  มีทางแยกขวาก่อนเข้าอำเภอพบพระเพื่อไปหมู่บ้านห้วยน้ำนัก

จุดชมวิวดอยเกี๊ยะ
 ตั้งอยู่ในเขตป่าแม่สอด หมู่ที่ 4 ตำบลพบพระ เป็นจุดสูงสุดชายแดนไทย-สหภาพพม่า มีความสูงประมาณ 512 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์บริเวณป่าของพม่าได้ บางส่วนเป็นสันเขา และมีอากาศเย็นสบาย ในฤดูหนาวมีทะเลหมอกเหนือแม่น้ำเมย ที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทย-สหภาพพม่า

น้ำตกป่าหวาย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1090 สายแม่สอด-อุ้มผาง บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 43 แยกซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้านประมาณ 16 กิโลเมตร ทางคดเคี้ยว การชมน้ำตกต้องเดินจากชั้นล่างของน้ำตก ฝ่ากระแสน้ำขึ้นไปชมน้ำตกชั้นบนแล้วเดินต่อไปอีกประมาณ 30 เมตร จะพบปล่องภูเขากว้างประมาณ 10 เมตร มีน้ำไหลลงสู่ปล่องแล้วหายไปในบริเวณใต้ภูเขา น้ำตกป่าหวายเกิดจากลำห้วยป่าหวายมีน้ำไหลตลอดปี บริเวณโดยรอบมีไม้หวายเป็นจำนวนมากจึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตก การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1090 สายพบพระ-อุ้มผาง เลี้ยวซ้ายก่อนถึงกิโลเมตรที่ 42 เข้าไปประมาณ 20 กิโลเมตร

น้ำตกสายฟ้า
 และ น้ำตกสายรุ้ง เป็นน้ำตกที่มีละอองน้ำตกลงมากระทบแสงแดด เหมือนรุ้งกินน้ำมีน้ำไหลตลอดปี 
การเดินทาง
อยู่ระหว่างเส้นทางสายพบพระ-อุ้มผาง ทางหลวงหมายเลข 1090 เลยอำเภอพบพระไป 11 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกสายฟ้า และน้ำตกสายรุ้ง
สถานที่พัก
อุทยานฯ มีบ้านพักบริการ จำนวน หลัง หรือกางเต็นท์พักแรมแต่ต้องนำอุปกรณ์มาเอง ติดต่อ
รายละเอียดได้ที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ กิโลเมตรที่ 37 หมู่  6 ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ
จังหวัดตาก 63160  โทร. 0 5550 0906  หรือ กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. 0 2562 0760www.dnp.go.th
การเดินทาง อุทยานฯ ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1090สายแม่สอด-อุ้มผาง ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 37มีทาง
แยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 700 เมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

ข้อมูลจาก: thai.tourismthailand.org